วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พุทธภาษิตธรรมศึกษาชั้นโท


พุทธภาษิตธรรมศึกษาชั้นโท

ยาทิสํ วปเต พีชํ          ตาทิสํ    ลภเต   ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ    ปาปการี    ปาปกํ.
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว.  สมดังพุทธภาษิตที่มาใน สังยุตตรนิกาย สคาถวรรค  
สุขกามานิ  ภูตานิ           โย ทณฺเฑน  วิหึสติ
อตฺตโน   สุขเมสาโน      เปจฺจ โส น ลภเต  สุขํ.
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข.   สมดังพุทธภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท   
อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ    อตฺถาวโห ว   ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ    อารุฬฺโห  โหติ   ขนฺติโก.
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้ที่มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน.  สมดังพุทธภาษิตที่มาใน สคาถวรรค มัชฌิมนิกาย
สีลสมาธิคุณานํ             ขนฺติ   ปธานการณํ
สพฺเพปิ  กุสลา  ธมฺมา     ขนฺตฺยาเยว   วฑฺฒนฺติ   เต.
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น.   สมดังพุทธภาษิตที่มาใน สคาถวรรค มัชฌิมนิกาย. 
โย   วสสสตํ  ชีเว     ทุปฺปญฺโญ    อสมาหิโต
เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย   ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า สมดังพุทธภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท   
อสนฺเต  นูปเสเวยฺย          สนฺเต   เสเวยฺย   ปณฺฑิโต
อสนฺโต  นิรยํ เนนฺติ         สนฺโต   ปาเปนฺติ  สุคตึ.
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ
เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติสมดังพุทธภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ชาดก วีสติวรรค  
สทฺเธน จ  เปสเลน จ           ปญฺญวตา  พหุสฺสุเตน จ
สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต     ภทฺโท  สปฺปุริเสหิ  สงฺคโม.
บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ. สมดังพุทธภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย เถรวรรค.   
อตฺตทตฺถํ    ปรตฺเถน         พหุนาปิ  น หาปเย
อตฺตทตฺถนภิญฺญาย                       สทตฺถปสุโต  สิยา.
บุคคลไม่ควรพร่าประโยชน์ของตน     เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก 
รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว   พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน.       สมดังพุทธภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา
สุขกามานิ  ภูตานิ             โยทณฺเฑน    หึสติ
อตฺตโน  สุขเมสาโน           เปจฺจ  โส  ลภเต  สุขํ.
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข    ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา            ผู้นั้นละไปแล้วย่อมได้สุข.     สมดังพุทธภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา
ขนฺติโก เมตฺตวา  ลาภี        ยสสฺสี  สุขสีลวา
ปิโย  เทวมนุสฺสานํ                        มนาโป  โหติ ขนฺติโก.
ผู้มีขันตินับว่าเป็นผู้มีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจ ของเทวดาและมนษย์ทั้งหลาย.   สมดังพุทธภาษิตที่มาใน สวดมนต์ฉบับหลวง
สตฺถุโน   วจโนวาทํ            วโรติเยว  ขนฺติโก
ปรมาย    ปูชาย             ชินํ  ปูเชติ  ขนฺติโก.
ผู้มีขันติชื่อว่าทำตนตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง.         สมดังพุทธภาษิตที่มาใน  สวดมนต์ฉบับหลวง
ยาทิสํ  กุรุเต  มิตฺตํ            ยาทิสญฺจูปเสวติ
โสปิ  ตาทิสโก โหติ           สหวาโส ห ตาทิโส.
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด
เขาก็เป็นคนเช่นนั้น  เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น.     สมดังพุทธภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย  วีสตินิบาต


พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นักเรียนได้อะไรบ้างจากพระที่เข้าไปสอนในโรงเรียน