วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทความวิจัยเรื่อง ศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น


ศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สุขอุษา  นุ่นทอง
Suk-usa Nunthong
พธ.บ. (สังคมวิทยา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ศศ.ม. (ยุทธศาสตร์การพัฒนา) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

พระจิตติเทพ  ฌานวโร (นาอุดม)
Phra Jittithap Chanavaro (Naudom)
พธ.บ. คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ
ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นนักปฏิบัติธรรมผู้ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ท่านตระหนักดีว่ากระแสวัตถุนิยมนั้น เป็นภัยอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งจะตกเป็นเหยื่อลุ่มหลงอยู่ในอำนาจทางวัตถุ เป็นทาสแห่งความอยาก ไม่รู้จักพอไม่มีที่สิ้นสุด ดังที่พระรัฐบาลกล่าวว่า โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่มเป็นทาสแห่งตัณหา[1] ความเป็นไปของสังคมเช่นนี้จะก่อให้เกิดความพินาศในสังคมบริโภคนิยม ท่านมองว่าต้องนำหลักศีลธรรมให้เข้าถึงจิตใจของเยาวชน เพราะศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า การที่มนุษย์เราในอนาคตจะมีฐานะทางศีลธรรมดีขึ้น ก็เพราะยุวชนมีศีลธรรมดีขึ้น มิฉะนั้นแล้ว มันจะไม่มีมนุษย์อยู่ในโลกพร้อมกับที่ไม่มีศีลธรรม[2]
งานวิจัยเรื่อง  ศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเกี่ยวกับการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผลการวิจัย โดยภาพรวม พบว่า การนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ในระดับปานกลาง  แสดงว่า การนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมของนักเรียนโดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน




[1] ม.ม. ( บาลี ) ๑๓ / ๓๐ ๖ / ๒๘๓. ม.ม. (ไทย ) ๑๓ / ๓๐๖ / ๓๖๘.
[2] ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร, วาทะธรรมว่าด้วยศีลธรรม (พุทธทาสภิกขุ ), พิมพ์ครั้งที่ ๒ , (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด, ๒๕๔๙.) หน้า ๑๔๓.

Study Behavior Taking the Five Precepts and the Five ennobling virtues in Daily life of JuniorHi-school, Srimilin-anusorn School Meung  District Suratthani Province

Suk-usa Nunthong
B.A. (Social Science) Mahachulalongkornrajavidyalaya University
M.A.( Development Strategy ) Suratthani Rajabhat University 

Phra Jittithap Chanavaro (Naudom)
B.A. Faculty of Buddhism (Religion) Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Abstract

Buddhadhasa, Dhamma practicum, Buddhism reconstruction realized that materialism was disaster to have effect to the social especially to the groups of children and teenager. They could easily get into the trap of materialism, were the slave of poor, not enough and endless for their need. It was said world was constantly dwindling, not enough and the slave of need. According to this kind of social could bring to the end in consumerism social so Buddhadhasa thought to take moral to teenager mind because teenager moral was world peace. As he said “In the future human could get better moral stage it was because of teenager had gained moral. If not so, there were no human being on this world with there were no moral”.
                The research “Study Behavior Taking the Five Precepts and the Five ennobling virtues in Daily life of Junior Hi-school, Srimilin-anusorn School Meung  District Suratthani Province” aimed to study and compare behavior taking the five precepts and the five ennobling virtues in daily life of junior hi-school, Srimilin-anusorn school Meung District Suratthani Province
The research result found that overall image was in middle level. This meant that in overall of taking the five precepts and the five ennobling virtues were no difference.

บทนำ
สังคมโลกกำลังบูชาเศรษฐกิจและการเมือง ไม่เหลียวแลศีลธรรมโดยลืมไปว่า ถ้าขาดศีลธรรมแล้ว เศรษฐกิจและการเมือง นั่นแหละคือเครื่องทำลายโลก ยิ่งเก่งเท่าไร ยิ่งทำลายโลกเร็วขึ้นเท่านั้น และทำลายถึงรากฐาน คือ ส่วนลึกของจิตใจมนุษย์ จนหมดความเป็นมนุษย์นั่นเอง[1]สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ ระบบบริโภคนิยมได้เข้ามา เด็กไทยจำนวนมากถูกเลี้ยงดูและเจริญเติบโตขึ้นมาภายใต้สภาพแวดล้อม ที่นิยมความสะดวกสบายบริโภคทางวัตถุตามสื่อโฆษณาต่าง ๆ แสวงหาความเพลิดเพลิน ด้วยการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การเล่นอินเตอร์เน็ต การเที่ยวตามสถานเริงรมย์ หรือแหล่งมั่วสุมที่เกิดมีอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม ก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ปัญหาการทำแท้ง จนกระทั่งปัญหาการทะเลาะวิวาทและทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิตเข้าสู่วงจรการทำผิด
การสอนเรื่องศีลธรรมแก่เยาวชนของท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านเน้นประเด็นต่าง ๆ ไว้น่าสนใจ เช่น (๑) ควรสอนเยาวชนให้มีสัมมาทิฏฐิโดยการปลูกฝังโพธิให้เกิดในจิตใจ แล้วเยาวชนอภิชาตบุตรก็จะเกิดขึ้นในสังคมไทย[2] (๒) ต้องนำเอาตรีรัตนศาสตร์สากลมาสอนเยาวชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าเป็นศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต[3] (๓) ต้องสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนให้มีท่าทีที่พึงปฏิบัติต่อไทยตรียางคธรรมอย่างถูกต้องให้ได้[4]
การศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเกี่ยวกับการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการพัฒนา ปลูกฝังคุณธรรมและแก้ปัญหาการทำผิดศีลธรรมของเยาวชนที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้  ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาด้านเพศ อายุ และระดับการศึกษา  พฤติกรรมการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับเบญจศีลและเบญจธรรม  ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์  อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี




[1] อ.อโณทัย อาตมา, ธรรมโฆษณ์ ขุมทรัพย์ทางปัญญา, (พุทธทาสภิกขุ),(กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๒.) หน้า ๔๑.
[2] พุทธทาสภิกขุ, เยาวชนกับศีลธรรม,(กรุงเทพมหานคร : ธรรมทาน, ๒๕๒๒.) หน้า ๓๔.
[3] คือ พุทธศาสตร์ คือ ศาสตร์สำหรับรู้, ธรรมศาสตร์ คือ ศาสตร์สำหรับปฏิบัติตามความรู้ และสังฆศาสตร์ คือ ศาสตร์สำหรับทำความผูกพันกัน รวมหมู่กันได้
[4] คือ ธรรมะที่ประกอบอยู่ด้วยองค์ ๓ สำหรับความเป็นไทย ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์



สมมติฐานของการวิจัย
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกัน  จะมีการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติแตกต่างกัน
นิยามศัพท์เฉพาะ
๑. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์  หมายถึง  นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์  อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒. เบญจศีล หมายถึง ความประพฤติทางกาย  และวาจา หรือข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกาย และวาจา  ให้ถืออยู่ในความดีงาม ๕ ประการ
๓. เบญจธรรม หมายถึง ข้อที่ควรปฏิบัติ ๕ ประการซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม  เป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติเจริญก้าวหน้า  ปลอดเวร  ปลอดภัย  และเพิ่มพูนความดีแก่ผู้ทำ
๔. ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ หมายถึง เพศ อายุ และระดับการศึกษา  ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎรธานี
๕. พฤติกรรมการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเบญจศีลเบญจธรรม  หมายถึง  พฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับหลักธรรมพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไป ได้ใช้ยึดมั่น เพื่อในการทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ได้
วิธีการวิจัย
การวิจัยเรื่องการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้การวิจัยครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการ ตามลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
รูปแบบการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย การวิจัยเชิงบรรยายหรือการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)[1]  เพื่อศึกษาการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 
ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวน ๔๔๖ คน ประมาณค่า ๐.๐๕  หรือ  ± ๕ %  ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่[2]  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๑๐ คน




[1] สุวิมล  ติรกานนท์.ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคม : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ ๗. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๕๑.)


[2] Yamane, Taro. 1967. Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row.
ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน ๒๑๐ คนผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling)[1]
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี มี ๓ ตอน ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมเกี่ยวกับหลักเบญจและศีลเบญจธรรม  ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์  อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แบบสอบถามมีจำนวน ๓ ตอน คือ
ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษา มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist)
ตอนที่ ๒  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเบญจศีลและหลักเบญจธรรม จำนวน ๒๐  ข้อ เป็นการตอบแบบมาตราส่วน
ตอนที่ ๓  ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะคำถามเป็นแบบปลายเปิด (Open Question)
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนดังนี้
. ทำหนังสือขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี วิทยาเขตนครศรีธรรมราช วัดพัฒนาราม(พระอารามหลวง) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปยังโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างเพื่อขอความอนุเคราะห์ ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
. พบผู้อำนวยการโรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการแจกแบบสอบถาม ให้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง และรวบรวมแบบสอบถามที่กรอกข้อมูลแล้วไว้ที่ผู้อำนวยการ เพื่อผู้วิจัยได้ไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองตามวันเวลาที่นัดหมาย
วิธีการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล      
. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเกี่ยวกับหลักเบญจศีลและเบญจธรรมตามนิยามศัพท์  จำนวน  ๒๓  ข้อ




[1] ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. ทฤษฎีและเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,๒๕๓๘.)

. สร้างแบบสอบถามระดับของการนำหลักเบญจศีล เบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ครบทั้ง ๓ ด้าน มีแบบให้คะแนน ๕ ระดับ จำนวน ๒๐ ข้อ
. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนออาจารย์ที่ปรึกษา  เพื่อตรวจและปรับปรุงแก้ไข
. นำแบบสอบถามที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข  มาปรับแก้ตามคำเสนอแนะ แล้วนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา  พบว่าทุกข้อมีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา
. นำแบบสอบถามที่ตรวจและปรับปรุงแก้ไข ไปทดลองใช้ โดยแจกแบบสอบถามให้นักเรียนในระดับการศึกษาเดียวกันได้ค่าความเชื่อมั่น(Reliability) = .๙๑
. นำแบบสอบถามฉบับสมบรูณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง  เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถาม จำนวน ๒๑๐ ชุด ไปยังโรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แจกให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง และเก็บกลับคืนด้วยตนเอง โดยตรวจสอบแบบสอบถามที่สมบูรณ์ที่สุดครบทุกชุด จำนวน ๒๐๔ ชุด เมื่อ วันศุกร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
การวิเคราะห์ข้อมูล
ประมาณค่า (Rating Scale) ใน ๕ ระดับ ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบกำหนดตัวเลขแทนคุณลักษณะให้ผู้ตอบทำแบบเครื่องหมาย ในช่องตรงกับการประยุกต์ต่อข้อความนั้น ๆ ในระดับใด โดยกำหนดระดับคะแนนตามระดับการประยุกต์ในระดับใดระดับหนึ่ง แบ่งเป็น ๕ ระดับ คือ
                 เห็นด้วยอย่างยิ่ง                            คะแนน
                 เห็นด้วย                                        คะแนน
                 ไม่แน่ใจ                                       คะแนน
                 ไม่เห็นด้วย                                   คะแนน
                 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง                        คะแนน  
ผู้วิจัยนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลของการนำหลักเบญจศีลเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามลำดับดังนี้
๑.ข้อมูลทั่วไปของแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์นุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ (Percentage)  
๒. ข้อมูลของแบบสอบถามเกี่ยวกับการนำหลักเบญจศีล เบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยแปลผลตามแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่าใน ๕ ระดับ  และแปลความหมายของค่าเฉลี่ยของผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามช่วงของค่าเฉลี่ย ดังต่อไปนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่         ๔.๕๐๕.๐๐     หมายความว่า     มีการนำไปปฏิบัติมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่         ๓.๕๐๔.๔๙    หมายความว่า    มีการนำไปปฏิบัติมาก
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่         ๒.๕๐๓.๔๙    หมายความว่า      มีการนำไปปฏิบัติปานกลาง
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่         ๑.๕๐๒.๔๙    หมายความว่า       มีการนำไปปฏิบัติน้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่         ๑.๐๐๑.๔๙      หมายความว่า       มีการนำไปปฏิบัติน้อยที่สุด 
๓. การเปรียบเทียบการนำหลักเบญจศีล เบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  วิเคราะห์โดยใช้การทดสอบที(t – test) และOne-way ANOVA ( F- test)  
๔. การประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางแก้ไขการนำหลักเบญจศีล เบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง
เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ เป็นการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการนำหลักเบญจศีล เบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภาคสนามของรายวิชาสถิติและการวิจัยเบื้องต้น ซึ่งตามปกติยังไม่พบการเกิดอันตรายใดๆ ที่รุนแรง แต่การเข้าร่วมกิจกรรมและตอบแบบสอบถาม ก็อาจเป็นการรบกวนเวลา และทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยรู้สึกไม่สบายใจได้ ซึ่งผู้วิจัยได้เตรียมการไว้ ดังนี้
๑. ผู้วิจัยจะทำการนัดหมายเวลาในการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง และแจ้งรายละเอียดของกิจกรรม ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยรับทราบล่วงหน้า               
๒. ในการตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยจะชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยทราบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยสามารถยุติการตอบแบบสอบถามได้ตลอดเวลา หรืออาจไม่ตอบข้อใดก็ได้ และข้อมูลในการตอบแบบสอบถามเป็นความลับ และไม่ระบุชื่อผู้ตอบ การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเป็นไปในภาพรวม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เข้าร่วมการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ มีการพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาวิจัย สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างต้องปฏิบัติในการวิจัยระยะเวลาในการทำการศึกษา และสิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยการสมัครใจกลุ่มตัวอย่างสามารถตอบรับหรือปฏิเสธการเข้าร่วมการวิจัยโดยไม่มีผลต่อการตอบแบบสอบถาม และระหว่างการวิจัยกลุ่มตัวอย่างสามารถบอกเลิกได้ทุกช่วงของการวิจัยโดยไม่ต้องบอกเหตุผล และกลุ่มตัวอย่างสามารถซักถามข้อสงสัยหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยได้จากผู้วิจัยตลอดระยะเวลาการศึกษา ข้อมูลที่ได้รับจากการวิจัยนี้จะถูกเก็บเป็นความลับ ผลการวิจัยจะถูกนำเสนอในภาพรวม ไม่เปิดเผยชื่อ และนามสกุลของกลุ่มตัวอย่าง


สรุปผลการวิจัย
จากผลการศึกษาการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี สรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า  กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงจำนวน ๑๐๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๒.  และเป็นชายจำนวน ๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.  และเมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง  มีอายุ ๑๓ ปี  จำนวน ๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๗ อายุ  ๑๔  ปี  จำนวน ๘๖  คน คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๖ และอายุ ๑๕ ปี จำนวน ๘๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๗ และเมื่อจำแนกระดับการศึกษา  พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๕ คน  ระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๘๑คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๗และระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘ ทั้งหมดเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์นุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์  อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้
๑. ด้านหลักเบญจศีล  พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยรวมอยู่ในระดับ  ปานกลาง
๒. ด้านคุณหลักเบญจธรรม  พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับ  มาก 

ผลการเปรียบเทียบการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัยทำการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษา  
๑)  เพศ พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ทั้งเพศหญิงและเพศชาย  มีการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  มีความแตกกัน อย่างมีนัยสำคัญทางค่าเฉลี่ยที่ระดับ .๐๕
๒) อายุ พบว่า การนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีอายุ ๑๓ ปี  อายุ ๑๔ ปี  และ๑๕ ปี มีความไม่แตกกัน 
เข้าร่วมวิจัยครั้งนี้เป็นไปตามความ

๓)  ระดับการศึกษา  พบว่า  การนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน  มีความไม่แตกกัน 

ทัศนะวิจารณ์ต่อ การนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติของนักเรียน

ผู้วิจัยเห็นว่า ครอบครัว ชุมชน สถานการศึกษา สื่อมวลชน หรือทุกหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ควรส่งเสริมหรือให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านศีลธรรมในสังคมอย่างจริงจัง โดยนำวิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาข้อบกพร่องทางศีลธรรมของเยาวชนให้แพร่หลายเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่เยาวชนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน

ผู้ปกครองทางสังคมควรเน้นเชิงบูรณาการทางสังคม ด้วยการขับเคลื่อนผ่านการเรียนรู้ทั้งทางสังคมและส่งเสริมแนวคิดทางศาสนาหรือศีลธรรมเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนได้มีการศึกษาที่ถูกต้อง คือ การศึกษาที่พัฒนาทั้งทางกายและทางความคิดจิตใจควบคู่กัน ถือเป็นหลักการสำคัญในพัฒนาการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความสมบูรณ์และมีความสามารถในการประพฤติปฏิบัติในการทำหน้าที่ของตนทางสังคมได้ เมื่อนั้นเยาวชนก็จะไม่ก่อความเดือดร้อนให้เกิดความกระทบกระทั่งตนเองและผู้อื่นในสังคม สังคมก็จะสงบสุขร่มเย็นบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน
การนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่าการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมของนักเรียนโดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน และการเปรียบเทียบการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวม จำแนกตามเพศ   อายุ  และระดับการศึกษา พบว่า  นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ น้อย และผลการเปรียบเทียบด้านเพศ  พบว่า  มีการนำหลักเบญจศีลไปประพฤติปฏิบัติแตกต่างกันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยที่ระดับ ๑.๕๒  ส่วนด้านอายุค่าเฉลี่ยที่ระดับ ๒.๒๖  และด้านระดับการศึกษาค่าเฉลี่ยที่ระดับ ๒.๓๕ ด้านเบญจศีล ค่าเฉลี่ยที่ระดับ ๓.๔๗  ด้านเบญจธรรมมีค่าเฉลี่ยที่ระดับ ๔.๐๕  ส่วนทางด้านการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติโดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน 

ข้อเสนอแนะ
 จากการศึกษาพบว่าการนำหลักเบญจศีลและเบญจธรรมไปประพฤติปฏิบัติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีมิลินท์อนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยรวมจากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ  ดังนี้ 
๑. สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้อง และหาวิธีที่จะให้มีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักเบญจศีลและเบญจธรรม
๒. หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักศึกษาควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมในด้านของจริยธรรม คุณธรรม ด้านส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างสถาบันครอบครัวและสถานศึกษา การจัดระเบียบสังคม การกำหนดบทบาทหน้าที่ของสื่อให้ชัดเจนในการนำเสนอสิ่งต่างๆต่อสังคมให้มีความตระหนักต่อเยาวชนโดยการนำเสนอตัวอย่างที่ดี ไม่ให้การส่งเสริมไม่ให้ความสำคัญตัวอย่างที่เป็นการทำลายวัฒนธรรม และ จริยธรรม
๓.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม จริยธรรม คุณธรรมควรที่จะมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเยาวชนในประเทศไทยกับเบญจศีล และเบญจธรรมต่อไป
๔.สถาบันศาสนาจะต้องมีบทบาทที่สร้างศรัทธาให้กับประชาชนจะต้องมีความเข้มแข็งในองค์กร กำจัดบุคคลที่แฝงอยู่ในวงการศาสนา
๕. สถาบันที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาควรมีการวิจัยศึกษาวิเคราะห์หาวิธีในการนำเบญจศีล เบญจธรรม ให้นักศึกษาปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ
๖.บุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของสังคม สมควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนมีพฤติกรรมที่สมควรยกย่อง ให้เยาวชนยึดถือเป็นตัวอย่างไม่มอมเมาเยาวชนในด้านนำเสนอวัตถุนิยมให้แก่เยาวชนควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านจิตใจ
๗. ตัวของเยาวชนเองต้องมีความตระหนักถึงพฤติกรรมที่จะมีผลต่อสังคมและตัวเองด้วย
๘. เยาวชนควรได้รับการส่งเสริมให้มีความศรัทธาในเบญจศีล เบญจธรรม เพื่อให้เกิดความคิด ในการต่อต้านยาเสพติด
๙. ระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย ก่อให้เกิดการละเมิด เบญจศีล และเบญจธรรมได้ เช่น ผู้น้อยไม่อาจจะโต้แย้งการกระทำที่เป็นการละเมิด เบญจศีล และเบญจธรรม ของผู้มีอำนาจ
ดังนั้น  รัฐจะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากรเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญมากกว่าด้านอื่นๆ หรือเท่าๆ กับการพัฒนาด้านต่างๆ  โดยให้ความสำคัญในการนำหลักธรรมทางศาสนามาปลูกฝังพัฒนาจิตใจของคนในสังคมให้เป็นปัจจัยอย่างต่อเนื่อง  เพื่อควบคุมขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  หรือทัศนะคติของเยาวชนในชาติ  ก็จะก่อประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่สังคมและประเทศชาติสืบไป

 
บรรณานุกรม 

ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร, วาทะธรรมว่าด้วยศีลธรรม (พุทธทาสภิกขุ ), พิมพ์ครั้งที่ ๒ , (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด, ๒๕๔๙.) หน้า ๑๔๓.
พุทธทาสภิกขุ, เยาวชนกับศีลธรรม,(กรุงเทพมหานคร : ธรรมทาน, ๒๕๒๒.) หน้า ๓๔.
ม.ม. ( บาลี ) ๑๓ / ๓๐ ๖ / ๒๘๓. ม.ม. (ไทย ) ๑๓ / ๓๐๖ / ๓๖๘.
ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. ทฤษฎีและเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,๒๕๓๘.)
สุวิมล  ติรกานนท์.ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคม : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ ๗. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๕๑.)
อ.อโณทัย อาตมา, ธรรมโฆษณ์ ขุมทรัพย์ทางปัญญา, (พุทธทาสภิกขุ),(กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๒.)


Yamane, Taro. 1967. Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row.

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลงได้เพราะได้รับความเมตตาช่วยเหลือจากหลาย ๆ ท่านทั้งที่เป็นอาจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ได้ให้โอกาสในการวิจัยในครั้งนี้
ขอกราบขอบพระคุณพระศรีปริยัติยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม(พระอารามหลวง)เจ้าคณะอำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รองประธานคณะกรรมการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี วัดพัฒนาราม
ขอขอบพระคุณพระอาจารย์และคณาจารย์ ทุกท่านที่ได้กรุณาสอบถามถึงความก้าวหน้าและปัญหาตลอดระยะเวลาที่ได้ศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแห่งนี้
ขอขอบพระคุณผู้มีพระคุณทุกท่านที่ทำให้ได้มีโอกาสศึกษาและอยู่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายวันนี้คุณงามความดีและประโยชน์ที่เกิดจากการทำวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยขอน้อมอุทิศเป็นเครื่องสักการบูชาคุณพระศรีรัตนตรัย คุณบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และคุณ ของผู้มีอุปการคุณแก่ข้าพเจ้าทุกท่าน



นายสุขอุษา นุ่นทอง และพระจิตติเทพ ฌานวโร

พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นักเรียนได้อะไรบ้างจากพระที่เข้าไปสอนในโรงเรียน